ฟีเจอร์ ชุมชน ประโยชน์หลักๆ จากทางสตีมที่ไม่ได้เป็นเกม หรือ หมวดหมู่ เกมสตีม ใดๆ แต่ก็มีความเกี่ยวข้องกันไม่น้อยอย่างการเป็นชุมชนของเกมต่างๆ ที่รวมผู้คนที่เล่นเกมนั้นๆ หรือมีความสนใจ เข้ามาพูดคุยกัน ให้คะแนน และรวมไปถึงการรีวิวต่างๆ ซึ่งด้วยความเป็นชุมชน ยังสร้างการแลกเปลี่ยนไอเทมต่างๆ ในเกมในแพลตฟอร์มของสตีมได้ด้วย ซึ่งในฟีเจอร์นี้ก็ยังแตกย่อยไปได้อีกมาก และมีความน่าสนใจไม่น้อย
ฟีเจอร์นี้ของทางสตีม เกิดขึ้นจากความคิดที่ว่าจะให้เป็นแหล่งพูดคุยเกี่ยวกับเกมของ Valve เอง หลังจากที่ตั้งแต่เปิดให้บริการมาจนถึงปี 2005 ก็เป็นแพลตฟอร์มที่ไม่ได้เป็นที่นิยมเท่าที่ควร จากหลายสาเหตุหลายปัจจัย อย่างการกรอกข้อมูลที่ยุ่งยากเพื่อความปลอดภัย ใช้งานยาก รวมไปถึงการเป็นโปรแกรมที่ต้องดาวน์โหลดมาในเครื่อง แถมเน็ตในยุคนั้นก็ยังช้ามากๆ [1] ซึ่งฟีเจอร์ชุมชนในปัจจุบันก็มีบริการดังนี้
เพื่อหวังให้จำนวนผู้ใช้มากขึ้นวาล์วจึงพัฒนาฟีเจอร์เหล่านี้ที่เป็นกระดานสนทนา เพิ่มความเป็นระบบคอมมูต่างๆ ขึ้นเพื่อพูดถึงเกมของ Valve ซึ่งก่อนจะมาเป็นเหมือนกับตัวแทนผู้จัดจำหน่ายเกมทั่วโลกในบัญชีเดียว ก็เป็นกระทู้พูดคุยเกี่ยวกับเกม ซึ่งก็สามารถเรียกผู้คนเข้ามาได้มากสุดๆ จนมีเกมหลายสตูดิโอเริ่มเข้ามาวางจำหน่ายในแพลตฟอร์มนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งฟีเจอร์ชุมชนในปัจจุบันก็มีบริการดังนี้
สำหรับกลุ่มชุมชนในแพลตฟอร์ม Steam ซึ่งบทความนี้ได้อ้างอิงมาจาก ฝ่ายสนับสนุนของทางสตีมเอง ที่อธิบาย “กลุ่มชุมชน” ว่าเป็นศูนย์กลางที่สร้างขึ้นมาเองได้จากผู้ใช้ที่เป็นสมาชิก โดยสามารถแบ่งปันความสนใจ มีส่วนร่วมในกิจกรรมเกม รวมไปถึงการเป็นโฮสต์ตั้งกระดานสนทนาในฟอรัมเฉพาะกลุ่มของเกมต่างๆได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อเกม และผู้เล่นเกมนั้นๆ ได้เป็นอย่างดี และรายละเอียดต่างๆ ดังนี้
ที่มา: กลุ่มชุมชน Steam [2]
อย่างที่บอกไปว่าฟีเจอร์นี้เป็นการแนะแนวทางการเล่น ซึ่งก็จะเป็นในลักษณะของการ Guides โดยคือเอกสารที่สร้างโดยผู้เล่น สำหรับเกม หรือซอฟต์แวร์ ซึ่งเป็นทั้งวิธีหาทางออก ไม่ว่าจะติดอยู่กับปริศนา หรือต้องการหาความลับทั้งหมดที่ซ่อนอยู่ในฉาก รวบไปถึงแนวการเล่นตามเมต้าต่างๆ ที่เล่นแล้วจะเก่ง คู่มือเหล่านี้เองที่จะช่วยให้ผ่านไปได้
ที่มา: คู่มือบน Steam คู่มือ และเอกสารอ้างอิง ที่ถูกสร้างโดยผู้เล่น [3]
ส่วนของฟีเจอร์ในสตีม ก็ยังมีอีกหลายฟีเจอร์ที่เป็นผลพลอยได้จากการมีคนพูดถึงมากๆ ซึ่งอาจเป็นฟีเจอร์ที่ทำให้ระบบชุมชนมีผู้ใช้จำนวนมาก และแข็งแกร่งแบบทุกวันนี้ อย่างระบบของ Workshop ที่สามารถสร้างความแปลกใหม่ และความสนุกของเกมนั้นๆ ได้มากขึ้นจากปืนแปลก ฉากใหม่ๆ ที่ไม่ได้มาจากผู้พัฒนาโดยตรง หรือจะเป็น “ตลาด” ที่สามารถสร้างการแลกเปลี่ยนและซื้อขายไอเทมต่างๆ ในเกมทำเงินให้กับ Wallet ของสตีมได้
ฟีเจอร์ เวิร์กชอป (Workshop) คือระบบที่ได้รับความนิยม บางเกมก็มีมากกว่า 1000 ม็อดให้เลือกใช้ ซึ่งเป็นฟีเจอร์ยอดนิยมในการอัปโหลดม็อด (MOD) สำเร็จรูปที่เป็นตัวเสริมต่างๆ ของเกมที่ไม่ได้สร้างจากนักพัฒนาของเกมนั้นๆ ซึ่งผู้ใช้ หรือผู้เล่นเกมคนอื่นสามารถเข้ามาใช้งานได้ผ่านการกดสมัครสมาชิกกับม็อดนั้นๆได้
ฟีเจอร์ ตลาด (Market) ที่เป็นศูนย์รวมการแลกเปลี่ยนให้กับไอเทมต่างๆ ในเกมส่วนใหญ่ ที่สามารถถอดใส่ไอเทมในเกมได้ ส่วนมากก็จะสามารถแลกเปลี่ยนไอเทมได้ ซึ่งแลกได้กับเพื่อนๆ ในหมวดแลกเปลี่ยนไอเทม และนอกจากนั้นเมื่อมีคนเล่นจำนวนมาก และไอเทมที่มีน้อยก็จะมีความต้องการ ซึ่งก็ทำให้ไอเทมนั้นๆ มีราคาที่สูงขึ้นๆ ตามความหายาก และความต้องการ ซึ่งก็มีราคาตั้งแต่ 0.1 ไปถึงหลักหมื่นบาทเลย
สุดยอดแพลตฟอร์มขายเกมเดียวในโลก ที่มีทั้งระบบ Community และ Market ขายไอเทมได้ ที่รวมผู้คนที่เล่นเกมนั้นๆ หรือมีความสนใจ เข้ามาพูดคุยกัน ให้คำแนะนำ หรือการให้คะแนนเกม ไปจนถึงการซื้อขายไอเทมที่ใช้เวลาเพียง 1-5 นาทีเท่านั้น ซึ่งอยู่ที่การตั้งราคา และความต้องการในไอเทมนั้นๆ
[1] playulti. (September 9, 2019). กว่าจะมาเป็น Steam แพลตฟอร์มร้านค้าออนไลน์สำหรับตลาดเกม PC ที่ยิ่งใหญ่ระดับโลก. Retrieved from playulti
[2] steampowered. (2024). กลุ่มชุมชน Steam. Retrieved from help.steampowered
[3] steamcommunity. (2024). คู่มือบน Steam คู่มือ และเอกสารอ้างอิง ที่ถูกสร้างโดยผู้เล่น. Retrieved from steamcommunity