อาหารภาคกลาง เป็นวัฒนธรรมที่เกิดจากการผสมผสานจากหลากหลายเชื้อชาติได้แก่ จีน อินเดีย ลาว เขมร พม่า เวียดนาม และประเทศจากชาติตะวันตกที่เข้ามาค้าขายตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นอาหารที่มีความหลากหลายทั้งในด้านการปรุง รสชาติ และการตกแต่งที่สวยงาม น่ารับประทาน
มีความวิจิตรบรรจง ประณีตที่ได้มาจากการถ่ายทอดวัฒนธรรมอาหารจากภายในวัง คนไทยภาคกลางกินข้าวเจ้าเป็นหลัก การรับประทานอาหารในแต่ละมื้อจะจัดเป็นสำรับ มีกับข้าวด้วยกันหลายอย่าง [1]
รสชาติอาหารภาคกลางนับได้ว่ามีความโดดเด่นเป็นพิเศษมากกว่าอาหารภาคอื่น อาหารภาคกลาง มีความหลากหลายในเรื่องของรสชาติ ทั้งรสเปรี้ยว หวาน เค็ม เผ็ด เอกลักษณ์ของรสชาติอาหารไม่ได้เกิดจากเครื่องปรุงเพียงอย่างเดียว รสเปรี้ยวที่ใช้ปรุงอาหารอาจได้มาจากมะนาว มะขาม มะกรูด ตะลิงปลิง ส้มแขก ผลไม้บางชนิด ตัวอย่างเช่น มะดัน มะม่วง เป็นต้น
การใช้เครื่องปรุงรสเปรี้ยวที่แตกต่างกันจึงทำให้เกิดความหลากหลายในรสชาติของอาหารไทยภาคกลาง อาทิเช่น ต้มยำ ใช้มะนาวเพื่อให้รสเปรี้ยว แต่ต้มโคล้งใช้น้ำมะขามเปียกเพื่อให้รสเปรี้ยวแทน
นอกจากนั้นยังมี รสเค็ม ที่ได้จากน้ำปลา กะปิ รสขม ที่ได้จากพืชชนิดต่างๆก็จะมี มะระ เป็นต้น และความเผ็ด ที่ได้จากพริก พริกไทย และเครื่องเทศ อาหารภาคกลาง เป็นอาหารที่มีครบทุกรส ซึ่งอาหารไทยที่ชาวต่างชาติส่วนใหญ่รู้จักและนิยมบริโภคล้วนแต่เป็นอาหารภาคกลางทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็น ต้มยำกุ้ง แกงเขียวหวาน ผัดไทย พะแนง เป็นต้น
รสชาติของอาหารไทยมักจะออกรสเผ็ด ดังนั้นจึงต้องมีอาหารรสเค็ม เปรี้ยว และหวาน เพื่อช่วยบรรเทาความเผ็ด ดังนั้นคำว่า “ เครื่องเคียง หรือ เครื่องแนม ” หมายถึง อาหารชนิดใดชนิดหนึ่งที่จัดเพิ่มขึ้นให้กับอาหารหลักในสำรับ เพื่อช่วยเสริมรสชาติอาหารในสำรับนั้นให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นอร่อยมากขึ้น
หลนต่างๆ - มักกินกับผักดิบ นิยมใช้ปลาย่าง ปลาฟู ปลาทอด
น้ำพริกกะปิ - กินกับผักต้มกะทิ นิยมใช้ปลาฟู กุ้งเค็ม
น้ำพริกลงเรือ - นิยมใช้หมูหวาน ไข่เค็ม ปลาช่อนย่างหรือ ปลาดุกย่าง
แกงเผ็ด - นิยมใช้ของเค็ม หรือเปรี้ยวๆ หวานๆ เป็นเครื่องเคียง อาทิเช่น ปลาแห้ง เนื้อเค็ม ปลา เค็ม แตงโม
แกงส้ม - นิยมใช้ของเค็มๆ มันๆ ตัวอย่างเช่น ไข่เจียว ปลาเค็ม ไข่เค็ม หมูแดดเดียว
แกงขี้เหล็ก - นิยมใช้หัวผักกาดยำเค็ม
แกงคั่ว - นิยมใช้ของเค็มๆ เปรี้ยวๆ เป็นเครื่องเคียง เช่น ปลาเค็ม เนื้อเค็ม ไข่เค็ม ผัดหัว ผักกาดเค็ม
แกงมัสมั่น - นิยมใช้อาจาด ผักดองอบน้ำส้ม ถั่วลิสงทอดเคล้าเกลือ
ข้าวคลุกกะปิ นิยมใช้หมูหวาน กุ้งแห้งทอดกรอบ ใบชะพลูหั่นฝอย หอมแดง เป็นเครื่องเคียง
ข้าวผัด นิยมใช้แตงกวา ต้นหอม มะนาว พริกขี้หนู และมักจะมีแกงจืดเป็น เครื่องแนม
ยำไข่จะละเม็ด นิยมใช้มังคุด เป็นเครื่องเคียง
ยำปลาทูนึ่ง นิยมใช้ผักกาดหอม ใบชะพลู เป็นเครื่องแนม [2]
จะเห็นได้ว่าความเป็นมาของ อาหารภาคกลาง นี่ไม่ธรรมดาเลยจริงๆ รายละเอียดเยอะมากๆ วันนี้เราจะแนะนำอาหารยอดฮิตของภาคกลางพร้อมสูตรในการทำให้ท่านผู้อ่านได้รู้จักกัน 5 เมนู ดังนี้
แค่ได้ยินชื่อท้องก็ร้องแล้วรับเมนูนี้ เมนูโปรดของหลายๆคนสามารถทานได้กับทั้งข้าวและขนมจีน
วิธีทำแกงเขียวหวานเนื้อ
หนึ่งในแกงกะทิซึ่งเป็นอาหารดั้งเดิมของภาคกลาง ปัจจุบันก็เริ่มหาทานยากขึ้นกว่าเดิมบ้างแล้ว เนื่องจากไม่ค่อยมีคนสืบทอดทำต่อ
วิธีทำแกงเทโพปลา
เมนูยอดฮิตของคนไทยทุกภาค หอมมันไปด้วยกะทิ อร่อยถูกปากทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ
วิธีทำแกงเขียวหวานไก่
เคยขึ้นชาร์ตไปติดอันดับ 1 ของโลก ในการจัดอันดับของอาหารประเภทแกง นั่นคือสิ่งที่การันตีได้ว่าแกงมัสมั่นไก่เป็นแกงที่อร่อยและเด็ดจริง
วิธีการแกงมัสมั่นไก่
เมนูที่เชื่อว่าทุกคนเคยได้กินมาแล้วอย่างน้อย 1 ครั้งในชีวิต เป็นเมนูที่สามารถกินได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่
วิธีทำไข่พะโล้
ด้วยความหลากหลายของรสชาติ ผสมผสานกับรสชาติความอร่อยที่หาชาติอื่นเทียบได้ยาก คุณค่าทางโภชนาการก็ครบครัน จึงทำให้อาหารไทยภาคกลางเป็นอาหารที่โด่งดังไปทั่วโลก มีร้านอาหารไทยเปิดอยู่ในประเทศต่างๆมากมายหลายแห่ง นี่แหละครับ อาหารภาคกลาง ของไทย
[1] thaifoodtoday. (2024). อาหารภาคกลาง. Retrieved from thaifoodtoday
[2] muaysoraya.wordpress. (2024). ประวัติอาหารภาคกลาง. Retrieved from muaysoraya.wordpress
[3] cooking.kapook. (October 21, 2022). 29 สูตรอาหารไทย 4 ภาค เมนูกับข้าวและแกงไทยทำง่ายอร่อยแบบโฮมเมด. Retrieved from cooking.kapook